สารนายกสภาสถาบันกันตนา เนื่องในโอกาสวาระครบรอบ ๑๓ ปี วันสถาปนาสถาบันกันตนา ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖

สถาบันกันตนา เติบโตมา ๑๓ ปี ถ้าเป็นมนุษย์ก็เรียกว่า แตกพาน คือฐานของนมหรือเต้านมเกิดเป็น ไตแข็งขึ้น เป็นเครื่องแสดงความเป็นหนุ่มสาว เสียงเปลี่ยน ภาษาเปลี่ยน สนใจเพศตรงข้าม ตื่นตาตื่นใจกับสิ่งใหม่ๆรอบตัว ติดตามกระแสใหม่อย่างใกล้ชิด พร้อมคิดค้นสรรพสิ่งมาเพิ่มเพศรสให้ตนเอง เพื่อนและคนโดนใจต้นแบบมาก่อนพ่อแม่ คิดปุ๊บทำปั๊บเปลี่ยนให้เป๊ะใหม่ๆไปเรื่อยๆ สำหรับเขาทุกสิ่งเป็นจริงในจินตนาการ
สถาบันกันตนา บัดนี้แตกพานเป็นเสมือนขยายฐานความรู้นำมาสู่ความคิดที่เป็นพลวัตพัฒนาไปตามสมรรถนวิสัยแห่งนิเทศศาสตรวิวัฒนาการ เสียงเราจักเปลี่ยนให้ได้ยินไกลไปทั่วโลกในทุกภาษาสำหรับใครที่ไหนจะหารับฟังเมื่อไรก็ได้ เราจักรักสนใจทุกเพศทุกวัยเพื่อให้เราได้เข้าถึงกันรู้จักกันเข้าใจกันร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพชีวิตและโลกของเราไปด้วยกัน เราจักตื่นตาตื่นใจกับสิ่งใหม่ๆรอบตัวเราทั้งใกล้และไกลเพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมสมัยเสมอ เราจักติดตามกระแสใหม่ๆอย่างใกล้ชิดเพื่อเราจะได้เป็นแนวหน้าในการใช้สิทธินั้นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาทรัพยากรของสถาบัน เราจักเพิ่มเพศรสให้ตนเองด้วยสารอุตสหกรรมนำด้วยปัญญาที่จะพาปวงชนพ้นอวิชชาแห่งความสมจริงที่พรางตาพรางใจใครๆในปัจจุบัน เพื่อนและคนโดนใจที่เก่งและดีจักเป็นเป้าบันดาลความสำเร็จใหม่ไปพร้อมกับคุณธรรมนำชีวิตให้สมสุขดังที่บุพการีประดิษฐานไว้เพื่อความสำเร็จ ปริยัติปฏิบัติ ปฏิเวธ คือ ความรู้ความชำนาญและความเก่งกล้าแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงอันเป็นคุณสมบัติยิ่งใหญ่และยืนยงของพวกเราจักทำให้เราปรับเปลี่ยนไปสู่เป๊ะใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้งและแม่นยำ สำหรับเราชาวสถาบันกันตนาทุกสิ่งเป็นจริงในจินตปัญญา
น้ำหยดเดียวไหลรวมท่วมโลกได้ หนึ่งสมองและสองมือของพวกเราชาวสถาบันกันตนาก็นำเราสู่ความสำเร็จได้
สถาบันกันตนา ครบรอบ ๑๓ ปี วาระแตกพานแห่งปัญญา

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์
นายกสภาสถาบันกันตนา
๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
สถาบันกันตนา บัดนี้แตกพานเป็นเสมือนขยายฐานความรู้นำมาสู่ความคิดที่เป็นพลวัตพัฒนาไปตามสมรรถนวิสัยแห่งนิเทศศาสตรวิวัฒนาการ เสียงเราจักเปลี่ยนให้ได้ยินไกลไปทั่วโลกในทุกภาษาสำหรับใครที่ไหนจะหารับฟังเมื่อไรก็ได้ เราจักรักสนใจทุกเพศทุกวัยเพื่อให้เราได้เข้าถึงกันรู้จักกันเข้าใจกันร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพชีวิตและโลกของเราไปด้วยกัน เราจักตื่นตาตื่นใจกับสิ่งใหม่ๆรอบตัวเราทั้งใกล้และไกลเพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมสมัยเสมอ เราจักติดตามกระแสใหม่ๆอย่างใกล้ชิดเพื่อเราจะได้เป็นแนวหน้าในการใช้สิทธินั้นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาทรัพยากรของสถาบัน เราจักเพิ่มเพศรสให้ตนเองด้วยสารอุตสหกรรมนำด้วยปัญญาที่จะพาปวงชนพ้นอวิชชาแห่งความสมจริงที่พรางตาพรางใจใครๆในปัจจุบัน เพื่อนและคนโดนใจที่เก่งและดีจักเป็นเป้าบันดาลความสำเร็จใหม่ไปพร้อมกับคุณธรรมนำชีวิตให้สมสุขดังที่บุพการีประดิษฐานไว้เพื่อความสำเร็จ ปริยัติปฏิบัติ ปฏิเวธ คือ ความรู้ความชำนาญและความเก่งกล้าแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงอันเป็นคุณสมบัติยิ่งใหญ่และยืนยงของพวกเราจักทำให้เราปรับเปลี่ยนไปสู่เป๊ะใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้งและแม่นยำ สำหรับเราชาวสถาบันกันตนาทุกสิ่งเป็นจริงในจินตปัญญา
น้ำหยดเดียวไหลรวมท่วมโลกได้ หนึ่งสมองและสองมือของพวกเราชาวสถาบันกันตนาก็นำเราสู่ความสำเร็จได้
สถาบันกันตนา ครบรอบ ๑๓ ปี วาระแตกพานแห่งปัญญา
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์
นายกสภาสถาบันกันตนา
๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
สารปีใหม่ พุทธศักราช 2566 จากนายกสภาสถาบันกันตนา

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๖ แก่ชาวสถาบันกันตนาทุกท่าน
พุทธศักราช ๒๕๖๕ ผ่านไป เราทั้งหลายคลายความวิตกกังวลเรื่องโรคระบาดไปได้พอสมควรแม้ว่ามันจะยังไม่หมดไป แต่เราก็เรียนรู้ที่จะอยู่กับมันให้ได้โดยการปฏิบัติตนอย่างรู้เท่าทันการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่องของมันและอำนาจทำลายล้างของมัน นี่คือคุณลักษณะของมนุษย์ที่ปรับตัวให้รอดจากภัยอันตรายได้ตลอดมา การที่มนุษย์รอดมาได้ก็ด้วยปัญญาแห่งตนโดยไม่ต้องพึ่งอำนาจอื่นใดมาช่วยขจัดภัยพาลให้สิ้นไปในเร็ววัน ทุกข์ที่เกิดจากโรคระบาดร้ายแรงทำให้คนหันไปพึ่งธรรมะมากขึ้นแต่เป็นการพึ่งที่ไม่ถูกทาง คนทั้งหลายพากันสวดมนต์ โพชฌงคปริตร โดยเข้าใจว่าอำนาจแห่งมนตราจะทำให้หายจากโรคร้ายนั้นได้ พระพุทธเจ้าปฏิเสธปาฏิหาริย์เช่นนี้ พระองค์ทรงแนะนำปาฏิหาริย์ที่เกิดจากการปฏิบัติชอบด้วยตนเอง โดยการปฏิบัติตนตามโพชฌงคปริตรทั้งเจ็ดข้อที่ทรงกำหนดไว้โรคร้ายก็อาจหายได้ คือ สติ(รู้ว่าป่วย) ธัมวิจัยะ(รู้ว่าป่วยเป็นอะไร) วิริยะ(พยายามรักษาตน) ปิติ(ยินดีรับการรักษา) ปัสสัทธิ(สงบใจไม่โวยวาย) สมาธิ(มุ่งมั่นรักษา) อุเบกขา(ปล่อยวางให้ใจสงบ)
สามปีที่เราจมปลักอยู่กับความมืดมนจนมองแทบไม่เห็นทางรอด หลายคนจนปัญญาไขว่คว้าคุณไสยหวังให้ตนและคนที่ตนรักรอดร้ายกลายดีไปให้ได้ ความหลอกลวงเพราะหวังลมหวังแล้งหวังรวยหวังสวยหวังสำเร็จหวังเร็วลัดจึงเกิดขึ้นอย่างมากมายพาผู้คนให้สิ้นเนื้อประดาตัว สิ่งเหล่านี้บ่งบอกถึงความล้มละลายทางปัญญาที่กำลังลุกลามมาใกล้ตัวเรา มหาตมคานธี ได้กล่าวเตือนชาวโลกถึงพฤติกรรมหลงผิดที่เป็นโทษของมนุษย์เจ็ดประการ คือ รวยโดยไร้งาน สนุกสนานโดยไร้สติ ความรู้ที่ไร้ความจริง ธุรกิจที่ไร้จริยธรรม ความฉลาดที่ไร้มนุษยธรรม ธรรมะที่ไร้การเสียสละ และการปกครองที่ไร้ธรรมาภิบาล จามัย คาสสิโอ นักพฤติกรรมศาสตร์อเมริกันมองพฤติกรรมของคนยุคโควิดว่ามีความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน ความคลุมเครือ และพฤติกรรมของคนในยุคหลังโควิดกำลังเปลี่ยนเป็น ความเปราะบาง ความกังวล ความไม่มีขั้นตอน ความเข้าใจยาก สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจ
ชาวกันตนาพึงตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ขอให้ทุกคนเข้มแข็งทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอนาคต เพื่อความมั่นคงของเราทุกคนและของสถาบันกันตนาตลอดพุทธศักราช ๒๕๖๖ นี้เทอญ
ด้วยความปรารถนาดีจาก
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์
นายกสภาสถาบันกันตนา
๑ มกราคม ๒๕๖๖
พุทธศักราช ๒๕๖๕ ผ่านไป เราทั้งหลายคลายความวิตกกังวลเรื่องโรคระบาดไปได้พอสมควรแม้ว่ามันจะยังไม่หมดไป แต่เราก็เรียนรู้ที่จะอยู่กับมันให้ได้โดยการปฏิบัติตนอย่างรู้เท่าทันการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่องของมันและอำนาจทำลายล้างของมัน นี่คือคุณลักษณะของมนุษย์ที่ปรับตัวให้รอดจากภัยอันตรายได้ตลอดมา การที่มนุษย์รอดมาได้ก็ด้วยปัญญาแห่งตนโดยไม่ต้องพึ่งอำนาจอื่นใดมาช่วยขจัดภัยพาลให้สิ้นไปในเร็ววัน ทุกข์ที่เกิดจากโรคระบาดร้ายแรงทำให้คนหันไปพึ่งธรรมะมากขึ้นแต่เป็นการพึ่งที่ไม่ถูกทาง คนทั้งหลายพากันสวดมนต์ โพชฌงคปริตร โดยเข้าใจว่าอำนาจแห่งมนตราจะทำให้หายจากโรคร้ายนั้นได้ พระพุทธเจ้าปฏิเสธปาฏิหาริย์เช่นนี้ พระองค์ทรงแนะนำปาฏิหาริย์ที่เกิดจากการปฏิบัติชอบด้วยตนเอง โดยการปฏิบัติตนตามโพชฌงคปริตรทั้งเจ็ดข้อที่ทรงกำหนดไว้โรคร้ายก็อาจหายได้ คือ สติ(รู้ว่าป่วย) ธัมวิจัยะ(รู้ว่าป่วยเป็นอะไร) วิริยะ(พยายามรักษาตน) ปิติ(ยินดีรับการรักษา) ปัสสัทธิ(สงบใจไม่โวยวาย) สมาธิ(มุ่งมั่นรักษา) อุเบกขา(ปล่อยวางให้ใจสงบ)
สามปีที่เราจมปลักอยู่กับความมืดมนจนมองแทบไม่เห็นทางรอด หลายคนจนปัญญาไขว่คว้าคุณไสยหวังให้ตนและคนที่ตนรักรอดร้ายกลายดีไปให้ได้ ความหลอกลวงเพราะหวังลมหวังแล้งหวังรวยหวังสวยหวังสำเร็จหวังเร็วลัดจึงเกิดขึ้นอย่างมากมายพาผู้คนให้สิ้นเนื้อประดาตัว สิ่งเหล่านี้บ่งบอกถึงความล้มละลายทางปัญญาที่กำลังลุกลามมาใกล้ตัวเรา มหาตมคานธี ได้กล่าวเตือนชาวโลกถึงพฤติกรรมหลงผิดที่เป็นโทษของมนุษย์เจ็ดประการ คือ รวยโดยไร้งาน สนุกสนานโดยไร้สติ ความรู้ที่ไร้ความจริง ธุรกิจที่ไร้จริยธรรม ความฉลาดที่ไร้มนุษยธรรม ธรรมะที่ไร้การเสียสละ และการปกครองที่ไร้ธรรมาภิบาล จามัย คาสสิโอ นักพฤติกรรมศาสตร์อเมริกันมองพฤติกรรมของคนยุคโควิดว่ามีความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน ความคลุมเครือ และพฤติกรรมของคนในยุคหลังโควิดกำลังเปลี่ยนเป็น ความเปราะบาง ความกังวล ความไม่มีขั้นตอน ความเข้าใจยาก สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจ
ชาวกันตนาพึงตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ขอให้ทุกคนเข้มแข็งทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอนาคต เพื่อความมั่นคงของเราทุกคนและของสถาบันกันตนาตลอดพุทธศักราช ๒๕๖๖ นี้เทอญ
ด้วยความปรารถนาดีจาก

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์
นายกสภาสถาบันกันตนา
๑ มกราคม ๒๕๖๖