สถาบันกันตนา จัดพิธีประสาทปริญญา ประจำปีการศึกษา 2564-2565
25 พฤศจิกายน 2566
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 สถาบันกันตนา ได้จัดพิธีประสาทปริญญาแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2564 และ 2565 ซึ่งถือเป็นการกลับมาจัดพิธีประสาทปริญญาออนไซต์รูปแบบเดิมครั้งแรก หลังจากครั้งล่าสุดเมื่อ 2 ปีก่อน มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดพิธีประสาทปริญญาเป็นแบบไฮบริดด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19
พิธีประสาทปริญญาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ นายกสภาสถาบัน , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปนัดดา ธนสถิตย์ อธิการบดีสถาบันกันตนา , คุณจาฤก กัลย์จาฤก ประธานกรรมการบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหาร คือรองศาสตราจารย์ ดร.จุฑา มนัสไพบูลย์ , รองศาสตราจารย์ จุมพล รอดคำดี , อาจารย์อ่อนอุษา ลำเลียงพล , ศาสตราจารย์ ดร.นธกฤต วันต๊ะเมล์ และ อาจารย์นท พูนไชยศรี คณบดีคณะศิลปกรรมการผลิตสื่อ เข้าร่วมในพิธีเพื่อเป็นเกียรติและแสดงความยินดี
ในครั้งนี้ มีนักศึกษาที่ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสื่อบันเทิง ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 คน , นักศึกษาที่ได้รับปริญญาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 11 คน , นักศึกษาที่ได้รับปริญญาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 คน พร้อมกันนี้ สถาบัน กันตนา ยังได้มอบเข็มพระศิวนาฏราชทองคำ เกียรติบัตรทุนการศึกษา ให้แก่บัณฑิตผู้ได้รับอีกด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปนัดดา ธนสถิตย์ อธิการบดีสถาบันกันตนา กล่าวรายงานผลการดำเนินงานของสถาบันกันตนา ใจความตอนหนึ่งว่า “สถาบันฯ มีการระดมทุนสนับสนุนเพื่อการศึกษา โดย สถาบันกันตนาได้รับความอนุเคราะห์เงินทุนสนับสนุนเพื่อการศึกษา จาก มูลนิธิประดิษฐ์-สมสุข กัลย์จาฤก มาอย่างต่อเนื่องสำหรับเป็นทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาของสถาบันกันตนาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยในปีการศึกษา 2564 มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้รับทุนมูลนิธิประดิษฐ์-สมสุข กัลย์จาฤก ตลอดระยะเวลาของหลักสูตร จนสำเร็จการศึกษา จำนวน 1 คน และ สถาบันฯ ยังได้รับการสนับสนุน จาก บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งมอบ ทุน บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ครบรอบ 66 ปี เป็นทุนค่าเล่าเรียนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตลอดหลักสูตร 4 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 ถึง ปีการศึกษา 2564 รวมจำนวนเงิน 6,890,000 บาท โดยนักศึกษาที่ได้รับทุนทั้งหมด 7 คน สำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2564 ที่เข้ารับปริญญาบัตรในวันนี้ นอกจากนี้ สถาบันฯ มีทุนสนับสนุนด้านการศึกษา ทุนคุณหญิง สุพัตรา มาศดิตถ์ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี ตลอดหลักสูตร 1 ทุน และ ทุนหลวงพรหมโยธี เป็นทุนสำหรับการดำเนินงานด้านการศึกษาประเภทต่างๆ ของสถาบันฯ"
จากนั้นในช่วงท้ายของพิธี ประธานฯ ได้กล่าวให้โอวาทแก่บัณฑิตใหม่ทุกท่าน มีใจความว่า บัณฑิตทั้งหลาย การทำงานให้สำเร็จผลแน่นอนและสมบูรณ์ตามเป้าหมายนั้น จะต้องใช้ความรู้ความสามารถ พร้อมทั้งคุณสมบัติสำคัญในตัวบุคคลหลายประการ ในโอกาสนี้ ผมขอน้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรื่องของการศึกษาที่พระราชทานไว้ว่า “การศึกษาหาความรู้สำคัญตรงที่ว่า ต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความฉลาดรู้ คือรู้แล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยไม่เป็นพิษ เป็นโทษ การศึกษาเพื่อความฉลาดรู้ มีข้อปฎิบัติที่น่าจะยึดเป็นหลักอย่างน้อยสองประการ ประการแรก เมื่อจะศึกษาสิ่งใด เรื่องใด ให้รู้จริง ควรจะศึกษาให้ตลอด ครบถ้วนทุกแง่มุม ไม่ใช่เรียนรู้แค่เพียงบางส่วนบางตอน หรือเพ่งเล็งเฉพาะแค่เพียงบางแง่บางมุม อีกประการหนึ่ง ซึ่งจะต้องปฎิบัติประกอบพร้อมกันไปด้วยเสมอ คือต้องพิจารณาศึกษาเรื่องนั้นๆ ด้วยความคิด จิตใจที่ตั้งมั่นเป็นปกติ และเที่ยงตรงเป็นกลาง”
Back
พิธีประสาทปริญญาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ นายกสภาสถาบัน , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปนัดดา ธนสถิตย์ อธิการบดีสถาบันกันตนา , คุณจาฤก กัลย์จาฤก ประธานกรรมการบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหาร คือรองศาสตราจารย์ ดร.จุฑา มนัสไพบูลย์ , รองศาสตราจารย์ จุมพล รอดคำดี , อาจารย์อ่อนอุษา ลำเลียงพล , ศาสตราจารย์ ดร.นธกฤต วันต๊ะเมล์ และ อาจารย์นท พูนไชยศรี คณบดีคณะศิลปกรรมการผลิตสื่อ เข้าร่วมในพิธีเพื่อเป็นเกียรติและแสดงความยินดี
ในครั้งนี้ มีนักศึกษาที่ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสื่อบันเทิง ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 คน , นักศึกษาที่ได้รับปริญญาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 11 คน , นักศึกษาที่ได้รับปริญญาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 คน พร้อมกันนี้ สถาบัน กันตนา ยังได้มอบเข็มพระศิวนาฏราชทองคำ เกียรติบัตรทุนการศึกษา ให้แก่บัณฑิตผู้ได้รับอีกด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปนัดดา ธนสถิตย์ อธิการบดีสถาบันกันตนา กล่าวรายงานผลการดำเนินงานของสถาบันกันตนา ใจความตอนหนึ่งว่า “สถาบันฯ มีการระดมทุนสนับสนุนเพื่อการศึกษา โดย สถาบันกันตนาได้รับความอนุเคราะห์เงินทุนสนับสนุนเพื่อการศึกษา จาก มูลนิธิประดิษฐ์-สมสุข กัลย์จาฤก มาอย่างต่อเนื่องสำหรับเป็นทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาของสถาบันกันตนาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยในปีการศึกษา 2564 มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้รับทุนมูลนิธิประดิษฐ์-สมสุข กัลย์จาฤก ตลอดระยะเวลาของหลักสูตร จนสำเร็จการศึกษา จำนวน 1 คน และ สถาบันฯ ยังได้รับการสนับสนุน จาก บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งมอบ ทุน บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ครบรอบ 66 ปี เป็นทุนค่าเล่าเรียนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตลอดหลักสูตร 4 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 ถึง ปีการศึกษา 2564 รวมจำนวนเงิน 6,890,000 บาท โดยนักศึกษาที่ได้รับทุนทั้งหมด 7 คน สำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2564 ที่เข้ารับปริญญาบัตรในวันนี้ นอกจากนี้ สถาบันฯ มีทุนสนับสนุนด้านการศึกษา ทุนคุณหญิง สุพัตรา มาศดิตถ์ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี ตลอดหลักสูตร 1 ทุน และ ทุนหลวงพรหมโยธี เป็นทุนสำหรับการดำเนินงานด้านการศึกษาประเภทต่างๆ ของสถาบันฯ"
จากนั้นในช่วงท้ายของพิธี ประธานฯ ได้กล่าวให้โอวาทแก่บัณฑิตใหม่ทุกท่าน มีใจความว่า บัณฑิตทั้งหลาย การทำงานให้สำเร็จผลแน่นอนและสมบูรณ์ตามเป้าหมายนั้น จะต้องใช้ความรู้ความสามารถ พร้อมทั้งคุณสมบัติสำคัญในตัวบุคคลหลายประการ ในโอกาสนี้ ผมขอน้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรื่องของการศึกษาที่พระราชทานไว้ว่า “การศึกษาหาความรู้สำคัญตรงที่ว่า ต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความฉลาดรู้ คือรู้แล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยไม่เป็นพิษ เป็นโทษ การศึกษาเพื่อความฉลาดรู้ มีข้อปฎิบัติที่น่าจะยึดเป็นหลักอย่างน้อยสองประการ ประการแรก เมื่อจะศึกษาสิ่งใด เรื่องใด ให้รู้จริง ควรจะศึกษาให้ตลอด ครบถ้วนทุกแง่มุม ไม่ใช่เรียนรู้แค่เพียงบางส่วนบางตอน หรือเพ่งเล็งเฉพาะแค่เพียงบางแง่บางมุม อีกประการหนึ่ง ซึ่งจะต้องปฎิบัติประกอบพร้อมกันไปด้วยเสมอ คือต้องพิจารณาศึกษาเรื่องนั้นๆ ด้วยความคิด จิตใจที่ตั้งมั่นเป็นปกติ และเที่ยงตรงเป็นกลาง”
Back